วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2553

จริยธรรมกับสังคมยุคสารสนเทศ

จริยธรรมกับสังคมยุคสารสนเทศ

จริยธรรม (ethics) หมายถึง แบบแผนความประพฤติหรือความมีสามัญสำนึกต่อสังคมในทางที่ดี โดยไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว ขึ้นอยู่กับกลุ่มสังคมหรือการยอมรับในสังคมนั้นๆ เป็นหลัก โดยส่วนใหญ่จริยธรรมจะเกี่ยวข้องกับการคิดและตัดสินใจได้ว่าสิ่งไหน ควร-ไม่ควร ดี-ไม่ดี ถูก-ผิด


จริยธรรมกับสังคมยุคสารสนเทศ


1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)


หมายถึง สิทธิส่วนตัวของบุคคล หน่วยงาน หรือองค์กรที่จะคงไว้ซึ่งสารสนเทศที่มีอยู่นั้น เพื่อตัดสินใจได้ว่าจะสามารถเปิดเผยให้ผู้อื่นนำไปใช้ประโยชน์ต่อหรือเผยแพร่ได้หรือไม่ เราอาจจะพบการละเมิดความเป็นส่วนตัว เช่น


-ใช้โปรแกรมติดตามและพฤติกรรมผู้ที่ใช้งานบนเว็บไซท์


-การเอาฐานข้อมูลส่วนตัวรวมถึงอีเมล์ของสมาชิกส่งไปให้กับบริษัทผู้รับทำโฆษณา


2. ความถูกต้องแม่นยำ (Information Accuracy)

-สารสนเทศที่นำเสนอ ควรเป็นข้อมูลที่มีการกลั่นกรองและตรวจสอบความถูกต้องและสามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์ได้โดยไม่ส่งผลกระทบกับผู้ใช้งาน


-ตัวอย่าง เช่น อาจเห็นแหล่งข่าวทางอินเทอร์เน็ต นำเสนอเนื้อหาที่ไม่ได้กลั่นกรอง เมื่อนำไปตีความและเข้าใจว่าเป็นจริง อาจทำให้เกิดความผิดพลาดได้


-ผู้ใช้งานสารสนเทศจึงควรเลือกรับข้อมูลจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ และตรวจสอบที่มาได้โดยง่าย


3. ความเป็นเจ้าของ (Information Property)

-สังคมยุคสารสนเทศมีการเผยแพร่ข้อมูลอย่างง่ายดาย มีเครื่องมือและอุปกรณ์สนับสนุนมากขึ้น


-ก่อให้เกิดการลอกเลียนแบบ ทำซ้ำหรือละเมิดลิขสิทธิ์ (copyright) โดยเจ้าของผลงานได้รับผลกระทบทั้งโดยตรงและโดยอ้อม


-ตัวอย่าง เช่น การทำซ้ำหรือผลิตซีดีเพลง หรือโปรแกรมละเมิดลิขสิทธิ์


4. การเข้าถึงข้อมูล (Information Accessibility)

-ผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลระบบ จะเป็นผู้ที่กำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคน


-บางแห่งอาจให้บริการเฉพาะสมาชิกเท่านั้น


-อาจรวมถึงข้อมูลนั้นสามารถให้บริการและเข้าถึงได้หลากหลายวิธี


-เช่น ภาพถ่ายหรือรูปภาพที่ปรากฎบนเว็บไซท์ ควรมีคำอธิบายภาพ (Attribute alt) เพื่อสื่อความหมายไว้ด้วยว่าเป็นภาพอะไร


ที่มา : http://www.sci.nu.ac.th/information-it/index.php?action=printpage;topic=4157.0